นาฬิกาชีวิตแบ่งตามลักษณะการนอนและการทำงานของคน 4 ประเภท คิดว่าตัวเองเป็นแบบไหน เพราะอะไรกันบ้างคะ? เพราะแต่ละคนมีรูปแบบจังหวะของการใช้ชีวิตที่มีผลมาจากการตื่นตอนของร่างกายและสมองที่แตกต่างกันออกไปซึ่งหนังสือ The Power of When จำแนกคนออกเป็นกลุ่มตามรนาฬิกาชีวิต โดยแบ่งจากลักษณะรูปแบบการนอน พฤติกรรม และลักษณะนิสัยเฉพาะบุคคลที่ทำให้คนแต่ละคนมีเวลาที่ดีที่สุด มีพลังในการทำงานหรือพูดง่ายว่ามีจังหวะของช่วงเวลาที่สมองแล่น และช่วงเวลาที่ต้องการพักผ่อนแตกต่างกัน โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 4กลุ่มใหญ่ๆ มีสัตว์ต่างชนิดเป็นตัวแทนของคนแต่ละประเภท ซึ่งการรู้ว่าตัวเองเป็นแบบไหนก็น่าจะเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้เราเข้าใจนาฬิกาชีวิตของตัวเองมากขึ้น สามารถจัดลำดับความสำคัญในการทำงาน หรือวางแผนกิจกรรมต่างๆ ในแต่ละวันให้ได้ประโยชน์สูงสุดได้นั้นเอง ว่าแต่ใครจะเป็นสัตว์ชนิดไหนลองตามมาดูกันค่ะ สิงโต #ทีมตื่นเช้า ลักษณะนิสัย: มีความเป็นผู้นำ จัดสรรเวลาได้ดี 15% ของประชากรทั้งหมด เวลาตื่น: 05.00–06.00 เวลานอน: 21:00-22:00 สมองแล่น: 8:00-12:00 สิงโตเป็นกลุ่มที่ตื่นแต่เช้าตรู่ โดยส่วนใหญ่แล้วมักตื่นเองโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยยาฬิกาปลุกด้วยซ้ำ ซึ่งในช่วงเช้านี้จะเป็นช่วงเวลาที่เรียกได้ว่ามีค่ามากที่สุด เพราะสมองของคนกลุ่มนี้จะตื่นตัวสุดๆในช่วงนี้ทำให้พวกเค้าสามารถเคลียร์งานสำคัญๆ จบได้อย่างราบลื่นตั้งแต่ก่อนเที่ยง และเมื่อสมองถูกใช้งานอย่างหนักหน่วงในช่วงเช้า ทำให้ช่วงบ่ายชาวสิงโตอาจต้องการการงีบสักครู่เพื่อช่วยบูสต์พลังให้กลับมาสดชื่น ดังนั้นในช่วงบ่ายจึงอาจจะเหมาะกับลักษณะของงานที่เบาๆ ไม่ต้องใช้พลังหรือความคิดมากสักเท่าไหร่ เพื่อเตรียมพร้อมต่อการพักผ่อนในช่วงเย็น เพราะแน่นอนว่าเมื่อวันของชาวสิงโตเริ่มต้นตั้งแต่ฟ้าสางเมื่อถึงช่วงหัวค่ำ สิงโตจะเป็นคนที่ง่วงเร็วกว่าทำให้สิงโตหลับไปก่อนที่เพื่อนๆคนอื่น หมี #ทีมสายกลาง ลักษณะนิสัย: ดำเนินชีวิตตามแบบแผน เฟรนลี่ เข้ากับคนง่าย …
สารพัดปัญหาเกี่ยวกับการนอนนี่ช่างเป็นเรื่องที่น่ารำคาญนัก ไม่ว่าจะเป็นนอนไม่หลับ หลับยาก และที่สุดจะทนจริงๆ ก็ต้องเป็นปัญหาตื่นกลางดึกบ่อยๆ นี่แหละ! แต่ทุกคนรู้ไหมว่าแค่การปรับอุณหภูมิในห้องนอนของเราให้เย็นลงอีกสักนิด แค่นี้ก็สามารถช่วยให้เรานอนหลับสนิทไปตลอดทั้งคืน แบบไม่ขาดตอนได้แล้วนะ ทำไมอุณหภูมิห้องนอนถึงมีผลต่อการนอน? Dr. Rajkumar Dasgupta ผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านเวชศาสตร์คลินิก มหาวิทยาลัย Southern California เคยได้อธิบายความสัมพันธ์ของสภาวะการนอนหลับกับอุณหภูมิ เอาไว้ว่า “เมื่อเรานอน ร่างกายของเราจะมีอุณหภูมิที่เย็นลง และจะร้อนขึ้นเมื่อเราตื่น” ทั้งนี้การที่อุณหภูมิของร่างกายเราลดลงขณะหลับนั้น เป็นผลมาจากการผลิตและปล่อยเมลาโทนิน (Melatonin) หรือฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมการนอนหลับของเรา ดังนั้นหากเรานอนในห้องที่อุณหภูมิสูง ความร้อนจะเข้าไปรบกวนกลไกการปล่อยเมลาโทนิน ซึ่งมีส่วนที่ทำให้เราหลับไม่เต็มที่ และอาจดื่นกลางดึกได้นั่นเอง งั้นอุณหภูมิที่เหมาะสมกับการนอนที่สุดคือเท่าไหร่? หากอ้างอิงจากคำแนะนำของ Dr. Dasgupta อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการนอนหลับจะอยู่ที่ประมาณ 15 – 19 องศา (องค์กร National Sleep Foundation แนะนำไว้ที่ 15 – 22 องศา) แต่นั่นก็เป็นอุณหภูมิที่แนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในเมืองหนาว ซึ่งอุณหภูมิดังกล่าวก็อาจจะหนาวเกินไปสำหรับบางคน ดังนั้นในเมืองร้อนอย่างประเทศไทยของเรานั้น ทางโรงพยาบาลกรุงเทพ แนะนำให้ปรับอุณหภูมิห้องให้อยู่ที่ราวๆ 17 – …
ใครที่รู้สึกหลับยาก เหนื่อยจะแย่ แต่ทำไมนอนไม่ค่อยหลับก็ไม่รู้ จริงๆ หนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้เรานอนหลับง่ายขึ้น ก็คือการอาบน้ำอุ่นก่อนนอน ซึ่งจะช่วยให้เพิ่มอุณหภูมิร่างกาย ทำให้รู้สึกสบายตัว ส่งผลให้เราหลับได้ง่ายและหลับสนิทมากขึ้น อาบน้ำอุ่นยังไงให้หลับสบาย อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสมสำหรับการอาบน้ำคือ 27 – 37 องศาเซลเซียส สามารถช่วยขับของเสียที่คั่งค้างในร่างกายให้ออกมาได้มากขึ้น และยังช่วยเพิ่มอุณหภูมิให้ร่างกาย ทำให้รู้สึกสบายตัว ผ่อนคลายความเมื่อยล้า ลดอาการมือเท้าเย็น อาการเส้นเลือดขอด และยังช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือด คลายความเครียดได้เป็นอย่างดี เรียกว่าช่วยปรับสภาวะความสมดุลของร่างกายให้สามารถนอนหลับได้ง่าย และหลับสนิทมากขึ้น สำหรับคนที่ชอบอาบน้ำร้อน แนะนำไม่ให้อาบน้ำที่อุณหภูมิสูงเกิน 42 องศาเซลเซียส มีข้อดีที่จะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือด แต่ไม่ควรแช่นานเกิน 15 นาทีนะคะ เพราะนอกจากจะทำให้ผิวแห้งแล้ว ยังเสี่ยงจะทำให้หน้ามืดด้วยนะจ๊ะ ซึ่งเราขอแนะนำให้คนที่รักการแช่น้ำร้อน ต้องไม่ลืมที่จะทาครีมบำรุงผิว โลชั่น หรือมอยส์เจอร์ไรเซอร์เพื่อคงความชุ่มชื่นของผิวด้วยนะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์