Home Review ติดโควิด กักตัวที่บ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง

ติดโควิด กักตัวที่บ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง

0
ติดโควิด กักตัวที่บ้านต้องเตรียมอะไรบ้าง

แนะนำไอเท็มจำเป็นยามกักตัว สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกัดตัวหรือผู้ป่วยโควิดกลุ่มเขียวที่อาการน้อยและเลือกรับการรักษาที่บ้านหรือที่ Hospitel ควรมีอะไรติดตัวบ้าง รวมไว้ให้แล้ว

พาราเซตามอล: อันนี้ไม่ต้องพูดเยอะเพราะเชื่อว่ารู้จักกันดีอยู่แล้วหนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่ สามารถกินได้ตามอาการครั้งละ 1 เม็ด ขนาด 500 มิลิกรัม โดยรับประมานได้ทุกๆ4-6 ชั่วโมง

ยา แก้ แพ้ คัดจมูก: อีกหนึ่งตัวช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกที่อาจเกิดขึ้นได้สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 เราแนะนำยาในกลุ่ม คลอเฟนิรา (chlorpheniramine) โดยในเว็ปไซด์พบแพทย์ได้อธิบายว่า ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยต้านการทำงานของสารฮีสทามีนซึ่งเป็นสารที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างขึ้นและก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่ออาการภูมิแพ้จึงถูกนำมาใช้บรรเทาอาการคัน เป็นหวัด จาม น้ำมูกไหล น้ำตาไหล รวมถึงไข้หวัดใหญ่ ดังนั้นผู้ป่วยสามารถนำใช้ดูแลตามอาการได้เลย แต่หากใครมีโรคประจำตัว หรือมีความกังวลแนะนำให้ปรึกษาคุณหมอก่อนจะดีที่สุด

โบตัน: แม้จะไม่ใช่ยารักษาแต่ขอรวมไว้เป็นอีกหนึ่งชิ้นที่มาช่วยเสริมก็แล้วกัน ซึ่งน่าจะเหมาะมากสำหรับใครที่อาจรู้สึกไม่สบายคอ โบตันน่าจะช่วยได้อยู่ไม่มากก็น้อย เพราะจุดเด่นของเค้าก็ต้องยกให้เรื่องของการเป็น แผ่นอมชุ่มคอ โดยสูตรนี้มีสมุนไพรอย่างชะเอมเทศกว่า 71%

โดยชะเอมเทศเป็นสมุนไพรที่นิยมมาใช้เป็นส่วนประกอบในตำหรับยาจีน ที่สำคัญเมื่อไม่นานมานี้เราพบว่าในต่างประเทศยังมีการเลือกนำเอาชะเอมเทศมาใช้ทดลองกับผู้ป่วยโควิด-19 อีกด้วย อ้างอิงจากการทดลองของ Omid Safa ที่ถูกรายงานใน Trialsjournal Biomedcentral ได้เลือกใช้สารสกัดจากชะเอมเทศในกลุ่มตัวอย่างของผู้ป่วยโควิด-19 จากการทดลองพบว่าชะเอมเทศมีส่วนช่วยให้การฟื้นตัวของผู้ป่วยเป็นไปในทิศทางที่ดีอย่างมีนัยะสำคัญ อาการต่างๆอาทิ ไข้ ไอ อาการอ่อนเพลีย การปวดเมื่อยต่างๆดีขึ้นตามลำดับ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการทดลองนี้ก็ยังไม่ได้มีการรับรองทางการแพทย์อย่างเป็นทางการว่าจะสามารถช่วยลดหรือบรรเทาผู้ป่วยโควิด-19 ได้จริงหรือไม่ แต่ถึงอย่างไรก็ดี ในสถานการณ์แบบนี้มีไว้ก่อนก็อุ่นใจ เพราะคุณสมบัติเรื่องความชุ่มคอของเค้าก็ดีแบบว่าไม่ได้จริงๆ

ฟ้าทะลายโจร: สมุนไพรไทยที่เรียกว่าฮอตฮิตมากในช่วงนี้ ขายดีชนิดที่ว่าหมดเกือบทุกร้าน! ถึงแม้ว่าจะยังไม่มีงานงานวิจัยรับรองอย่างเป็นทางการว่าสามารถช่วยต้านโควิด-19ได้ แต่ฟ้าทะลายโจรก็มีสรรพคุณเด่นในแง่ของการเป็นตัวช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและบรรเทาอาการของผู้ป่วยโควิดได้ดี เช่น อาการไอ ไข้ เจ็บคอ ได้ดี โดย ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร ผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ได้พูดถึงการศึกษาที่ใช้ฟ้าทะลายโจร (11.2 มิลลิกรัม/วัน) กิน 5 วัน/สัปดาห์ เป็นเวลา 3 เดือน พบว่าสามารถช่วยป้องกันหวัดได้ ซึ่งสอดคล้องกับที่นักวิจัยได้กล่าวถึงผลในการป้องกันหวัดว่า น่าจะเกิดจากฤทธิ์เสริมภูมิคุ้มกันนั่นเอง ดังนั้นฟ้าทะลายโจรก็เป็นอีกสิ่งที่เราแนะนำว่าควรเติมลงไปไอเท็มที่ควรมีในช่วงกักตัวเช่นกัน

ที่วัดค่าออซิเจน: เรียกว่าจำเป็นมากสำหรับผู้ป่วยที่พักรักษาตัวอยู่ที่บ้าน หรือไม่ได้อยู่ภายใต้เครื่องมือแพทย์ที่โรงพยายาบาล แม้ภายนอกจะดูไม่มีอาการอะไรน่าห่วง แต่หลายครั้งพบว่าในผู้ป่วยที่ดูปกติสบายดี แต่กลับทรุดหนักแบบไม่ทันตั้งตัว ซึ่งเมื่อลองดูพบว่าค่าออกซิเจนในเลือดต่ำกว่าเกณฑ์ ทำให้เกิดอาการเหนื่อยหอบรุนแรงและอาจส่งผลระบบการหายใจล้มเหลมแบบเฉียบพลัน  ซึ่งหากไม่คอยวัดค่าอยู่ตลอดแล้วละก็ อาจส่งตัวไปหาแพทย์ไม่ทันการดังนั้นการวัดค่าออกซิเจนจึงจำเป็นมากๆในช่วงนี้เพื่อติดตามการเปลี่ยนไปของร่างกายอย่างใกช้ชิด  โดยการวัดค่าออกซิเจนดูได้ตามนี้

  • ค่า 95% ขึ้นไป ถือว่าปกติดี
  • ค่า 90-94% อยู่ในช่วงสังเกตอาการและคอยระมัดระวังอาการผิดปกติ
  • ค่าน้อยกว่า 90%  เริ่มเข้าข่ายภาวะออกซิเจนในเลือดต่ำ แนะนำให้รีบควรรีบไปพบคุณหมอให้เร็วที่สุด

ปรอทวัดไข้: อันนี้ไม่น่าจะต้องอธิบายมาก เชื่อว่าหากใครอยู่ในช่วงกักตัวเป็นไอเท็มที่น่าจะใช้กันอยู่แล้ว แน่นอนมีติดไว้ก็ดีเพื่อเช็คตัวเองได้เป็นระยะๆ สำหรับผู้ป่วยโควิด-19 อาการน้อยแนะนำให้ทำร่วมกับการสังเกตอาการและความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย เพื่อจะได้สามารถรายงานคุณหมอให้ทราบ

สำหรับผู้ป่วยกลุ่มเขียวที่สามารถเติมไอเท็มเหล่านี้ลงไปในลิสต์ได้ แต่แนะนำว่าให้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์จะดีที่สุด

ยาแก้ไอ, ยาละลายเสมหะ,เกลือแร่ (กรณีถ่ายท้อง) ,ยาธาตุน้ำขาว , ยาแก้ท้องอืด โดยสามารถใช้เมื่อมีอาการได้เลย นอกจากนี้ของใช้อื่นๆที่ห้ามขาดได้แก่ แอลกอฮอล์ น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาล้างมือ และถุงขยะสำหรับแยกขยะติดเชื้อต่างๆ เช่น ทิชชู่เช็ดน้ำมูก หน้ากากอนามัยใช้แล้ว

อ้างอิง: พบแพทย์ ,Trialsjournal.biomedcentral,  โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และแพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทย และแพทย์ทางเลือก