หลายคนเข้าใจว่าการเสริมหน้าอกนั้นเสี่ยงเป็น “มะเร็งเต้านม” แต่แท้จริงแล้ว มะเร็งที่พบในคนเสริมหน้าอกแบบใส่ซิลิโคน อาจจะเป็น “มะเร็งต่อมน้ำเหลือง” ก็เป็นได้ ทำไมถึงคาดว่าจะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง เพราะเมื่อหลายปีก่อนเคยมีเคสของผู้ป่วยในประเทศอังกฤษฟ้องเกี่ยวกับปัญหาของซิลิโคนหลังเสริมหน้าอก เนื่องจากหนึ่งในเคสที่เป็นนั้นมีอาการหน้าอกบวมผิดปกติ และผิดรูปหลังจากเสริม ซึ่งแพทย์วินิจฉัยว่า อาจมีความสัมพันธ์กับการเสริมหน้าอกกับการเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลืองได้ ในตอนนั้นบางบริษัทที่ผลิตเต้านมเทียมจึงมีการเรียกคืนซิลิโคนชนิดผิวขรุขระ ทั้งนี้การเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองที่เป็น มักจะเป็นมะเร็งชนิด BIA-ALCL แต่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นในทุกรายที่เสริมซิลิโคน และเปอร์เซนต์การเกิดน้อย แต่ทางที่ดีก็ควรจะสังเกตตัวเองเพื่อป้องกันไว้ก่อน ถึงแม้ว่าแพทย์ยังไม่ได้ระบุสาเหตุชัดเจนของการเกิดมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในชนิดนี้ แต่ก็เคยมีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์คาดว่า พื้นผิวของซิลิโคนอาจจะไปทำปฏิกิริยากับการติดเชื้อแบคทีเรียได้ เพราะฉะนั้นหากเกิดความผิดปกติ รีบปรึกษาแพทย์โดยด่วนนะจ้า แล้วทำไมหลายคนจึงเข้าใจว่าเป็น “มะเร็งเต้านม “ นอกจากนี้ที่ยังมีการถกเถียงเรื่องซิลิโคน ทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้หรือไม่นั้น ทางโรงพยาบาลพญาไทเคยให้ข้อมูลผ่านทางเวบไซต์ของโรงพยาบาลว่า ตัวซิลิโคนไม่ได้เป็นสาเหตุทำให้ของมะเร็งเต้านมโดยตรง แต่คนไข้อาจจะไม่ได้มีการคัดกรองมะเร็งเต้านมก่อนแล้วพอเสริม ซิลิโคนก็ไปดันก้อนมะเร็ง ทำให้เราคลำเจอก้อนเนื้อได้ง่ายนั่นเอง ส่วนข้อมูลเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมที่น่ารู้ CLICK Source: phyathai
โรคมะเร็งเต้านม (breast cancer) มีเปอร์เซ็นต์ของผู้หญิงจะเป็นได้มากกว่าผู้ชายถึง 100 เท่า เกิดจากเซลล์เต้านมที่มีการแบ่งตัวผิดปกตินำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเป็นเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ยังกระจายตัวไปตามท่อน้ำนม และต่อมน้ำเหลืองรักแร้ได้ แต่รู้หรือไม่ว่า ในวงการแพทย์เองก็ยังไม่ฟันธง 100% ถึงสาเหตุของ “มะเร็งเต้านม” ที่แท้จริง มีเพียงปัจจัยหรือพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งชี้ได้ ปัจจัยหรือพฤติกรรมเสี่ยงที่อาจทำให้เป็นมะเร็งเต้านมได้ สาเหตุมาจากพันธุกรรมซึ่งถ่ายทอดผ่านยีน แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็น 100% เพราะฉะนั้นถ้าคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็งเต้านม แนะนำให้ดูแลตัวเองในการลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ให้เข้มงวดขึ้น เนื่องจากมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนอื่นๆ ความผิดปกติของฮอร์โมนเป็นเรื่องที่ร่างกายตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เช่น การทานยาคุมกำเนิด ซึ่งยาคุมมีผลต่อฮอร์โมนของผู้หญิง หากทานเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกิน 5 ปี รวมถึงผู้ที่มีประจำเดือนเร็ว หรือประจำเดือนหมดช้า ก็ล้วนแต่มีโอกาสเสี่ยงเพิ่มขึ้น ผู้หญิงในวัย 30 ปีขึ้นไป ที่ไม่เคยผ่านการตั้งครรภ์มากก่อน จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ตั้งครรภ์ในอายุที่น้อยกว่า อายุเพิ่มก็เสี่ยงเพิ่ม พฤติกรรมหรือไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันก็มีความเสี่ยงไม่น้อย เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เคยออกกำลังกาย มีภาวะอ้วนหลังหมดประจำเดือน และชอบทานอาหารที่มีไขมันสูง เป็นต้น ตรวจก่อน ลดเสี่ยงก่อน อายุเท่าไรจึงควรใส่ใจเรื่องนี้ วิธีการตรวจนั้นจะแบ่งเป็น 3 วิธี คือการตรวจด้วยตัวเอง การตรวจเต้านมด้วย …