- Advertisement -
beautyseefirst advertising
Tips&How toยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ต่างกันยังไง กินได้ตลอดหรือไม่

ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ต่างกันยังไง กินได้ตลอดหรือไม่

ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง ต่างกันยังไง

หนึ่งในยาสามัญประจำบ้านที่ต้องมีติดตู้ยาเลยคือ ยาธาตุน้ำขาว ยาธาตุน้ำแดง แต่หลายคนยังคิดว่าปวดท้องจะกินตัวไหนก็ได้ แต่ความจริงแล้ว ยาทั้งสองชนิดนี้ต่างกันตั้งแต่ตัวยาไปจนถึงลักษณะการทาน จึงไม่ได้มีคุณสมบัติเหมือนกัน 100% แน่นอน

ยาธาตุน้ำขาว

ชื่อก็บอกว่าน้ำขาว ตัวยาจึงเป็นลักษณะน้ำสีขาวขุ่น มีการตกตะกอนได้ ก่อนทานจึงต้องเขย่าก่อน ซึ่งใน 1 ขวดจะมีตำรับตัวยา 3 ชนิดคือฟีนิลซาลิไซเลต น้ำมันเมนทอล และน้ำมันโป๊ยกั๊ก แต่บางตำรับอาจมีสมุนไพรอื่นๆ ได้เช่นกัน แต่โดยรวมแล้วรสชาติจะออกน้ำหวานนิดๆ เย็นหน่อยๆ

สรรพคุณนั้นจะช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง และมีฤทธิ์ฆ่าเชื้ออ่อนๆ ในกรณีที่ปวดท้องจากอาการท้องเสีย แต่ลดกรดในกระเพาะไม่ได้ จึงเหมาะกับอาการปวดท้องจากการท้องเสียที่ติดเชื้ออ่อนๆ พร้อมช่วยเคลือบกระเพาะเพื่อการทำลายเชื้อโรคในลำไส้ และบรรเทาอาการอาหารเป็นพิษ

มักจะทานหลังอาหาร วันละ 3-4 ครั้งในผู้ใหญ่ และสามารถทานได้ต่อเนื่องเมื่อมีอาการ แต่ถ้ามีประวัติแพ้ยาแอสไพรินก็อาจแพ้ยานี้ได้เช่นกัน เพราะมีโครงสร้างยาคล้ายกันนั่นเอง

ยาธาตุน้ำแดง

สียาจะเป็นสีแดงเข้มใส ไม่ข้น รสชาติออกหวานและเผ็ดหน่อยๆ ในหนึ่งตำรับยามักจะผสมตัวยา 4 ชนิด โซเดียมไบคาร์บอเนต โกฐน้ำเต้า การบูร และเปปเปอร์มินต์ออยล์ ทั้งนี้ก็อาจมีปรับสูตรนิดหน่อยตามแต่ละยี่ห้อ แต่ให้ผลของการบรรเทาอาการเช่นกัน

สรรพคุณ ช่วยแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้องได้เช่นกัน และบรรเทาอาการลดกรดในกระเพาะได้ดี แต่ไม่สามารถแก้อาการปวดท้องจากท้องเสียได้ จึงเหมาะกับผู้ที่มีกรดในกระเพาะ เรอเหม็นเปรี้ยว ไม่สบายท้อง บรรเทากรดไหลย้อน

มักจะทานหลังอาหาร วันละ 3 ครั้งในผู้ใหญ่ แต่ด้วยตัวยาที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสมอยู่บ้าง เด็กอายุต่ำกว่า 3 ขวบ สตรีมีครรภ์ จึงไม่ควรทาน และผู้ป่วยโรคไต โรคหัวใจ ควรให้แพทย์สั่งด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังไม่ควรทานเกิน 2 สัปดาห์ เพราะตัวยามีความเป็นด่างเพื่อลดกรด การทานติดต่อกันนานจึงอาจเกิดภาวะเลือดเป็นด่างได้ ถึงแม้ว่าความเสี่ยงนี้จะพบได้น้อยก็ตาม

สรุปความต่างของยาสามัญประจำบ้านทั้งสองชนิด

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article