Home How to เคลียร์โต๊ะเครื่องแป้งรับสิ้นปี Checklist เครื่องสำอาง ชิ้นไหนจะได้ไปต่อ – Beauty See First

เคลียร์โต๊ะเครื่องแป้งรับสิ้นปี Checklist เครื่องสำอาง ชิ้นไหนจะได้ไปต่อ – Beauty See First

0

เคลียร์โต๊ะเครื่องแป้งรับสิ้นปี Checklist เครื่องสำอาง ชิ้นไหนจะได้ไปต่อ

30 ไอเดียจัดโต๊ะเครื่องแป้งให้เป๊ะ เป็นระเบียบ น่าหยิบใช้ – AKERU

ใกล้จะหมดปี 2019 แล้ว สิ่งไหนไม่ดีก็ปล่อยทิ้งไป สิ่งไหนดีๆก็พกเอาไปด้วยในปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนะคะ โดยเฉพาะเครื่องสำอางก็เช่นกัน วันนี้เราเลยถือโอกาสสิ้นปีทั้งที ขอชวนสาวๆมาเช็คกรุเครื่องสำอางของคุณว่าชิ้นไหนบ้างที่จะได้ไปต่อ โดยทั่วไปแล้ว เครื่องสำอางแต่ละชิ้นมีอายุการใช้งาน

  • คอนซีลเลอร์และรองพื้น : 6 เดือนถึง 1 ปี / เมื่อส่วนผสมแยกชั้นกัน
  • ครีมกันแดด : 6 เดือน
  • บลัชออน อายแชโดว์ บรอนเซอร์ แป้งอัดแข็ง : 1-2 ปี
  • ดินสอเขียนคิ้วและดินสอเขียนขอบตา : 1 ปี
  • อายไลน์เนอร์ : 3-4 เดือน
  • มาสคาร่า : 3 เดือน
  • ผลิตภัณฑ์จำพวกลิปสติก : 1 ปี
  • ยาทาเล็บ 1-2 ปี
  • น้ำหอม : 8-10 ปี

ข้อสังเกตที่ 1 Texture ของผลิตภัณฑ์

ไม่มีคำอธิบายรูปภาพ

“แห้งอยู่นานกว่าเปียก” วิธีที่ง่ายๆ ที่คุณสามารถใช้สังเกตอายุการใช้งานของเครื่องสำอางแต่ละชิ้นของคุณคือ สังเกตจากเนื้อผลิตภัณฑ์ โดยเครื่องสำอางชิ้นนั้นมีพื้นส่วนผสมแบบแป้ง (Powder-based makeup) เช่น แป้งอัดแข็ง บลัชออนแบบฝุ่น บรอนเซอร์แบบฝุ่น มักจะมีอายุการใช้งานยาวนานมากกว่าเนื้อผลิตภัณฑ์แบบอื่น อย่างพวก ครีม เจล หรือสติ๊ก เพราะแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของการหมดอายุนั้นเติบโตได้ดีในความชื้น ดังนั้นผลิตภัณฑ์จำพวกเนื้อแป้งที่มีความแห้งมากกว่าจึงมีแนวโน้มที่จะมีอายุการใช้งานมากกว่า

ข้อสังเกตที่ 2 บริเวณผิวที่ใช้กับผลิตภัณฑ์

ครีมหน้าขาว รู้เท่าทันสารอันตรายก่อนหน้าพัง - พบแพทย์

“ยิ่งใช้ใกล้ดวงตาเท่าไหร่ยิ่งเสียง่าย” เพราะบริเวณดวงตาของคุณมีความบอบบางมากกว่าบริเวณอื่นๆบนใบหน้า ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับพื้นผิวบริเวณนี้จึงมีความเซนซิทีฟมากกว่า และควรเปลี่ยนบ่อยกว่า เพื่อป้องกันแบคทีเรียให้ออกห่างจากดวงตาของคุณ ดังนั้นผลิตภัณฑ์จำพวก อายแชโดว์ อายไลน์เนอร์ และมาสคาร่า จึงมีอายุการใช้งานที่สั้นกว่าผลิตภัณฑ์อื่นๆ

ข้อสังเกตที่ 3 สัญญาลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์

ถอดรหัส สัญลักษณ์บนเครื่องสำอาง - คืออะไร มีความหมายอย่างไร

การอ่านฉลากเป็นสิ่งที่ควรทำให้ติดเป็นนิสัย เพราะนอกจากคุณจะรู้ส่วนผสมที่ใช้ในเครื่องสำอางแล้ว คุณยังรู้ด้วยว่าควรจะเปลี่ยนมันเมื่อไหร่ โดยจุดสังเกตุวันหมดอายุของเครื่องสำอางง่ายๆที่หลายคนอาจไม่รู้คือสัญลักษณ์ “shelf life sign” หรือ “Expiration Date After Product Opening” ระบุไว้บนบรรจุภัณฑ์ ที่มีลักษณ์เป็นรูป “กล่องเปิดฝา” ที่มีตัวเลขเขียนกำหนดไว้ เช่น 1M, 3M, 12M หรือ 24M โดยหน่วย “M” มาจาก “Month” ที่แปลว่าเดือน ดังนั้นการอ่านสัญลักษณ์นี้คือ “เมื่อคุณเปิดใช้งานแล้ว ผลิตภัณฑ์จะมีอายุการใช้งานอยู่ได้…เดือน” ตามเลขที่เขียนกำกับไว้นั่นเอง