- Advertisement -
beautyseefirst advertising
ข่าวลดเสี่ยงเชื้อโควิด-19กับเด็ก และบุตรของท่าน

ลดเสี่ยงเชื้อโควิด-19กับเด็ก และบุตรของท่าน

สถานการณ์การติดเชื้อไวรัสโควิด19 ในประเทศไทย ตั้งแต่ปีพ.ศ.2563 จนถึงช่วงต้นปี พ.ศ.2565 มีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 มากขึ้น โดยเฉพาะในเด็กซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรค ประกอบกับไวรัสมีการปรับตัวกลายพันธุ์เกิดสายพันธุ์ใหม่ ก่อให้การเกิดระบาดในวงกว้าง ยากต่อการรับมือป้องกัน

เชื้อโควิด-19กับเด็ก

เด็กสามารถติดเชื้อโควิด-19ได้ ผู้ป่วยจะแพร่เชื้อทางน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ หรือละอองสารคัดหลั่งที่มีเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย 3 ทางหลักๆ ได้แก่

 1.อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ในพื้นที่ปิด แล้วหายใจรับเชื้อไวรัสโควิด19

2. เมื่อผู้ป่วยโควิด จามหรือไอ แล้วเด็กได้รับละอองเข้าสู่ร่างกายทางจมูก  ตา หรือปาก

3. ผ่านการสัมผัส ตา จมูก หรือปากด้วยมือที่เปื้อนเชื้อโควิด-19

อาการโรคโควิด-19 ในเด็ก

ผู้ป่วยโควิดมีการแสดงอาการหลากหลาย ตั้งแต่มีอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยจนถึงป่วยหนัก ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะป่วยหนักได้แก่ อายุน้อยกว่า 1 ปี เด็กที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจ หรือโรคที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น แม้ผู้ป่วยเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรงก็สามารถป่วยหนักได้ อาการอาจจะแสดงในวันที่ 2-14 ภายหลังจากได้รับเชื้อโควิด-19

อาการแสดง ได้แก่

  1. ไข้
  2. ไอ
  3. อ่อนเพลีย
  4. ปวดเมื่อยตามตัว
  5. ปวดศีรษะ
  6. ไม่ได้กลิ่นหรือลิ้นไม่รับรส
  7. เจ็บคอ
  8. คัดจมูก น้ำมูกไหล
  9. คลื่นไส้ อาเจียน
  10. ถ่ายอุจจาระเหลว

กรณีอาการรุนแรง เด็กอาจมีอาการแสดงเหล่านี้ แน่นหน้าอก ซึม กระสับกระส่าย หายใจลำบาก ดื่มนมหรือกินอาหารไม่ได้ มีอาการเขียว

ดูแลป้องกันอย่างไรให้ห่างไกลจากโควิด-19

ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) และศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐอเมริกา (CDC) ได้ให้คำแนะนำแนวทางสำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กในการป้องกันการแพร่เซื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อโรค COVID-19 จากเด็กที่ติดเชื้อไปสู่บุคคลอื่นไว้ ดังนี้

การดูแลและล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ (Keep your Hands Clean)

  • สอนเด็กให้รู้จักล้างมืออย่างถูกต้องตามมาตรฐาน  7 ขั้นตอน
  • หมั่นล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่อย่างถูกวิธี นานอย่างน้อย 20 วินาที หรือใช้แอลกอฮอล์ล้างมือที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70%
  • ปฏิบัติตัวให้ถูกสุขลักษณะ ไอ/จามต้องปิดปากและจมูกด้วยการงอศอก หรือใช้กระดาษชำระปิด จากนั้นนำไปทิ้งในที่ที่เหมาะสม และล้างมืออีกครั้งเพื่อทำความสะอาด
  • หลีกเลี่ยงการเอามือสัมผัสบริเวณ ตา จมูก ปาก
  • ให้เด็กล้างมือด้วยน้ำและสบู่ทันทีที่กลับเข้าบ้าน หลังใช้ห้องสุขา และก่อนรับประทานอาหาร รวมถึงพ่อแม่ต้องดูแลความสะอาดก่อนจัดเตรียมอาหารด้วย

การเว้นระยะห่าง (Practice Social Distancing)

  • หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับบุคคลอื่นในบ้าน ทั้งเด็กและสมาชิกในบ้าน
  • ให้เว้นระยะห่าง 6 ฟุตหรือ 1 เมตร กับบุคคลอื่นที่ไม่ได้อยู่ในบ้าน
  • กรณีมีเด็กคนอื่นมาที่บ้าน ควรให้เด็กเล่นกันนอกบ้าน และเว้นระยะห่าง 6 ฟุต
  • หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่มีการใช้ของเล่นหรืออุปกรณ์ร่วมกัน เช่น ลูกฟุตบอล บาสเก็ตบอล ฯลฯ

การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อภายในบ้าน (Clean and Disinfected your Home)

  • ใช้สบู่กับน้ำสะอาด หรือแอลกอฮอล์ที่มีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์ไม่ต่ำกว่า 70% หรือน้ำยาที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อได้ เช่น น้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของ Sodium Hypochlorite โดยผสมกับน้ำในอัตราส่วนที่ถูกต้อง เช็ดทำความสะอาดบริเวณดังต่อไปนี้
    • พื้นผิวบริเวณที่มีการใช้ร่วมกันทุกวันและบริเวณที่มีการสัมผัสบ่อย เช่น ผ้าปูโต๊ะ ลูกบิดประตู มือจับประตู เก้าอี้ สวิตช์ไฟ  รีโมทคอนโทรล เครื่องใช้ไฟฟ้า หน้าต่าง โต๊ะ ห้องน้ำ อ่างล้างมือ เป็นต้น
    • บริเวณที่สกปรกได้ง่าย เช่น โต๊ะเปลี่ยนผ้าอ้อม โต๊ะอาหาร
    • พื้นผิวบริเวณที่เด็กสัมผัสบ่อยๆ เช่น ขอบเตียงนอน โต๊ะวางของเล่น หรือของเล่นต่างๆ โดยเฉพาะของเล่นเด็กชนิดที่เด็กอาจหยิบใส่ปากได้ ให้ทำความสะอาดโดยใช้สบู่และน้ำสะอาด และระวังอย่าให้มีคราบสบู่ตกค้าง
  • ในกรณีที่จำเป็นจะต้องดูแลเด็กที่ติดเชื้อ COVID-19 ให้พ่อแม่ผู้ปกครองล้างมือทุกครั้งหลังจับต้องสิ่งของและของเล่นที่เด็กใช้ รวมถึงหลังเปลี่ยนผ้าอ้อมหรือผ้าปูเตียงเด็ก เพื่อหลีกเลี่ยงการสัมผัสเชื้อ และควรรักษาระยะห่าง ใส่หน้ากากอนามัยอยู่เสมอ

การสวมใส่หน้ากากอนามัย (Wear Face Mask)

  • แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อออกนอกบ้าน หรือไปในที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่น
  • แนะนำให้เด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไปสวมหน้ากากอนามัย เมื่อต้องอยู่ท่ามกลางบุคคลอื่นที่ไม่ใช่คนในครอบครัว
  • ไม่แนะนำให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ หรือเด็กที่มีปัญหาด้านการหายใจ รวมถึงเด็กที่อยู่ในสภาพที่ถอดหน้ากากเองไม่ได้ สวมหน้ากากอนามัย เนื่องจากระบบทางเดินหายใจของเด็กยังพัฒนาไม่เต็มที่ เด็กอาจขาดออกซิเจนและเป็นอันตรายได้ ควรใช้การเว้นระยะห่างอย่างต่ำ 2 เมตร หรือเอาผ้าคลุมรถเข็นที่มีเด็กนอนอยู่แทน

ที่สำคัญที่สุดคือ ควรพาเด็กไปรับการตรวจสุขภาพและรับวัคซีนตามนัด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ โดยเลือกรับบริการเฉพาะสถานพยาบาลที่แยกบริเวณเด็กป่วยกับเด็กไม่ป่วยออกจากกัน ไม่ให้ปะปนกันอย่างชัดเจน

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article