การแพร่ระบาดของโควิดรอบนี้
คนไข้บางรายอาจไม่มีอาการรุนแรง ทำให้หลายคนไม่ยอมกักตัวอยู่ที่บ้าน หรือไม่มีการตรวจหาเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มเด็กที่จะต้องไปโรงเรียน ทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ดังนั้น หากพบว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยง ควรทำการกักตัว 10 วัน ซึ่งเป็นระยะที่เชื้อไม่มีการแพร่กระจาย การรควบคุมการแพร่ระบาดระยะนี้เป็นไปได้ยาก เนื่องจากมีการผ่อนคลายมาตรการป้องกัน
แนวโน้มการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด
มีโอกาสเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพียงแต่เชื้อที่กลายพันธุ์มีความรุนแรงมากกว่าเดิมหรือไม่ แต่สายพันธุ์ที่แพร่ระบาดขณะนี้ยังไม่มีความรุนแรง แต่อนาคตยังต้องจับตาการกลายพันธุ์ เพื่อเฝ้าระวังไม่ให้มีความร้ายแรงเหมือนในระยะแรก
ถ้าเทียบอัตราการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด เมื่อเทียบกับช่วงแรก มีการกลายพันธุ์ได้มากกว่าเดิมถึง 2 เท่า เพราะขณะนี้ไวรัสมีการกลายพันธุ์แบบก้าวกระโดด สามารถเกิดขึ้นกับคนหรือในสัตว์ได้ แต่สิ่งที่ต้องระวังคือ หากเกิดการแพร่ระบาดในสัตว์ จะควบคุมได้ยาก เสี่ยงจะแพร่กระจายมาสู่คน และทำให้เชื้อมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นได้ สำหรับคนที่ฉีดวัคซีนมาเกิน 4 เดือน ควรไปฉีดวัคซีนบูสเตอร์ เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ซึ่งจากการวิจัยพบว่า วัคซีนเดิมยังสามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายได้ โดยเฉพาะช่วงปีใหม่ที่คาดว่าจะมีกิจกรรมในการเฉลิมฉลองมากขึ้น การฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันอาการรุนแรงไว้ก่อนย่อมจะช่วยไม่ให้เกิดความสูญเสียได้.
เชื้อไวรัสตัวล่าสุดที่ต้องจับตา
ไวรัสโควิดสายพันธุ์ XBB ซึ่งเป็นลูกผสมของไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2.10.1 กับ BA.2.75 โดยเชื่อว่าอีกไม่นาน ก็จะแทนที่สายพันธุ์ BA.2.75 ในประเทศอินเดีย “ประเทศไทยเตรียมตัวได้เลยว่า หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2.75 อีกไม่นานก็จะมีสายพันธุ์ XBB แพร่ระบาดเหมือนประเทศอินเดีย” เพราะสายพันธุ์ใหม่นี้ติดต่อกันง่ายกว่าสายพันธุ์เดิม และหลบหลีกภูมิคุ้มกันไม่ว่าจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อธรรมชาติได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม นพ. มนูญ ยังระบุอีกว่า ปัจจุบันไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ใช้เวลาสั้นกว่าเดิม เพียง 3-4 เดือน ก็เข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดิม และทำให้เกิดการระบาดใหญ่ระลอกใหม่ซ้ำแล้วซ้ำอีกไปทั่วโลก
อย่างไรก็ตาม ไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ ๆ ไม่ได้ทำให้คนป่วยหนักและเสียชีวิตเหมือนสายพันธุ์เดลตา โดยเฉพาะในคนที่ได้รับวัคซีน 4 เข็ม คือได้วัคซีนครบ 2 โดสและตามด้วยเข็มกระตุ้นอีก 2 เข็ม
สถานการณ์การแพร่เชื้อโควิดกลายพันธุ์ในปัจจุบันเป็นอย่างไร
แพทย์ชื่อดังหลายคนได้ให้ความเห็นต่อสถานการณ์การระบาดในปัจจุบันว่า ยังคงน่าจับตาเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอน ขณะเดียวกันยังใกล้กับช่วงเทศกาลที่มีคนเดินทางและจัดงานรื่นเริง ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้การระบาดเพิ่มสูงขึ้นอีก
รศ.นพ. ธีระ วรธนารัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 โดยประเมินว่า ตอนนี้ สถานการณ์ถือว่า “พีคสูงกว่าระลอกสามในปีที่แล้วของอัลฟาและเดลตา และ… พีคสูสีกับระลอกช่วงครึ่งปีแรก ดังนั้น จึงย้ำเสมอว่าไม่ใช่เวฟเล็ก รอบตัวมีการติดกันรัว”
นอกจากนี้ รศ.นพ. ธีระ ยังให้ความเห็นว่า ยังถือว่าตอบได้ยาก ว่าความผันผวนจะทวีความรุนแรงมากกว่าปัจจุบันหรือไม่ และจะลงช้าเร็วเพียงใด จากการใช้ชีวิตเสรีในหน้าเทศกาล หากไม่ป้องกันตัว
สถานการณ์โควิด “ศึก” นี้ จะยืดเยื้อไปกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลก และมีโอกาสยืดไปจนเกิดปะทุซ้ำเติมจากสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ เช่น BQ.1.1, XBB, CH.1.1 ได้ ก็จะทำให้คล้ายกับระลอกสามที่อัลฟานำมาก่อน และยังไม่ทันลงก็มีเดลตาเข้ามาซ้ำ