- Advertisement -
beautyseefirst advertising
ข่าวโควิดระบาดรอบใหม่ ห้ามประมาท เสี่ยงถึงชีวิต

โควิดระบาดรอบใหม่ ห้ามประมาท เสี่ยงถึงชีวิต

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ว่า ขณะนี้จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รพ.ทั่วประเทศรายงานว่าแต่ละแห่งยังรองรับสถานการณ์ได้ แม้ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเนื่องจากส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง รักษาแบบผู้ป่วยนอก แพทย์ให้ยาตามที่วินิจฉัย ส่วนการรักษาใน รพ. ผู้ป่วยยังไม่ได้เพิ่มแบบมีนัยสำคัญ ส่วนการระบาดรอบนี้ทุกอย่างยังเป็นไปตามที่คาดการณ์ เป็นลักษณะของระลอกเล็ก หรือ Small Wave การมีผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเพิ่มขึ้นนั้น ก็ยังอยู่ในการคาดการณ์จะเพิ่มตามวงรอบ คือ ช่วง พ.ย. และ ธ.ค. หลังปีใหม่จะค่อยๆ ลดลง

โควิดระบาดรอบใหม่ เผยสาเหตุหลักยอดป่วยขาขึ้น เตือนติดซ้ำเสี่ยงตาย 2 เท่า

สถานการณ์โควิดไทยตอนนี้ มีการติดเชื้อรอบตัวมากขึ้นอย่างชัดเจน จากรายงานอย่างทางการเกี่ยวกับจำนวนผู้ป่วยที่ต้องรักษาตัวใน รพ. ส่วนยอดผู้เสียชีวิตล่าสุดพบมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น!!!

โควิดไทยป่วยเพิ่ม สธ.แจงเป็นไปตามคาดการณ์แบบระลอกเล็ก เชื่อหลังปีใหม่สถานการณ์ติดเชื้อลดลง เผย 6 สาเหตุหลักทำยอดป่วยช่วงนี้เพิ่ม จับตาลูกหลานโอมิครอนจ่อระบาดเพิ่ม เตือนคนติดโควิดซ้ำ เสี่ยงตาย-ป่วยหนัก

เผย 6 สาเหตุหลัก โควิดระบาดรอบใหม่ ทำไมช่วงนี้ ยอดป่วยขาขึ้น

ส่วนสาเหตุที่ช่วงนี้ผู้ป่วยโควิดกลับมาเพิ่มขึ้นนั้น ผศ.นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เปิดเผยถึงปัจจัยหลักที่ทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 กลับมาเพิ่มขึ้นว่า

1.ยังไม่เห็นว่ามีกลายพันธุ์ไวรัสใหม่ทำให้เกิดการระบาด จากข้อมูลศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก (สนับสนุนจาก WHO) BA.5 ยังเป็นสายพันธุ์ที่พบมากที่สุด รองลงมาเป็น BA.4 และมี BA.2.75 ปนมาประมาณ 5% (ข้อมูลจนถึงต้นเดือน พ.ย.) แต่ยังคงต้องติดตามการเปลี่ยนสายพันธุ์ไปอีก

2.น่าจะเป็นจากการมีกิจกรรมที่ใกล้ชิดกันมากขึ้น บวกกับการผ่อนคลายการใส่หน้ากากอนามัย

3.จับตาการกลายพันธุ์ของ BA.5 เป็น BQ.1 ซึ่งอาจจะลดการตอบสนองต่อ EVUSHELD คาดว่าอีกสักพักอาจจะเห็น BQ.1 เพิ่มขึ้นในประเทศ แต่ขึ้นช้าๆ แนวโน้มอาจจะเห็นการระบาดของไวรัสหลายสายพันธุ์พร้อมกัน แต่อาการมักไม่รุนแรงในคนที่ยังมีภูมิจากวัคซีน

4.คนที่ติดในรอบนี้บางคนเคยติดโควิดมาก่อนในระลอกที่มี เดลตา หรือ โอมิครอน BA.2 ระบาด รอบนี้ติดซ้ำ ซึ่งพบคนที่ติดซ้ำรอบนี้ประมาณ 8% คาดว่าจะมีการติดเชื้อซ้ำๆ ได้อีก

5.รอบนี้คนติดที่ไม่ได้มาตรวจอาจจะมีจำนวนมาก เนื่องจากตรวจได้เองที่บ้านกับรักษาตามอาการได้เอง คนที่อาการรุนแรงจะยังไม่มีจำนวนมาก แต่จะค่อยสูงขึ้นช้าๆ และมีโอกาสเตียงแน่นในบางโรงพยาบาล

6.จากที่ได้มีโอกาสตรวจระดับภูมิคุ้มกันในงานวิจัย พบว่า คนที่ฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายเกินหกเดือนบางคน ภูมิตกลงอาจจะไม่พอป้องกันไวรัสสายพันธุ์ BA.5 ดังนั้นคนสูงอายุที่มีความเสี่ยงโรครุนแรงน่าจะต้องรีบไปกระตุ้น เพื่อป้องกันอาการหนัก โดยเฉพาะก่อนปีใหม่ที่การระบาดมีโอกาสเพิ่มมากขึ้น

ติดโควิด-19 ซ้ำ มีความเสี่ยงอย่างไรบ้าง?

เนื่องจากเป็นเวชระเบียนของคนที่อายุมาก เป็นผู้ชายผิวขาวและมีอาการหนักและ Dr.C.Gounder จาก Kaiser Health News ได้ให้ความเห็นว่า ดูเหมือนทิศทางความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นนั้นจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่ลดลง เมื่อติดเชื้อตั้งแต่ครั้งที่ 3 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ ผลการศึกษาดังกล่าวยังพบว่า ไม่ว่าจะเป็นไวรัสสายพันธุ์ “เดลตา” หรือ “โอมิครอน BA.5” ก็มีผลการศึกษาที่ไม่แตกต่างกัน แม้ผู้ติดเชื้อจะเคยได้รับวัคซีนมาก่อนก็ตาม แต่ยังคงมีความเสี่ยงดังกล่าวเพิ่มขึ้น รายงานนี้นักวิจัยได้บอกถึงข้อจำกัด ซึ่งสอดคล้องกับผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ใช่นักวิจัยคณะนี้ เช่น Professor J. Moore จาก Cornell Medical Center ที่คิดว่ากลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้แม้จะมีจำนวนมาก แต่ไม่สามารถแทนประชากรทั่วไปได้

มีรายงานการศึกษาจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ที่คณะแพทยศาสตร์ เมืองเซ็นต์หลุยส์ โดย Dr. Ziyad Al-Aly เป็นการเก็บข้อมูลเวชระเบียนจำนวน 5.3 ล้านคน จาก US. Department Of Veterans Affairs โดยมีผู้ติดโควิด 1 ครั้ง 443,588 คน และผู้ที่ติดโควิดตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป จำนวน 40,947 คน พบผลการศึกษาที่น่าสนใจดังนี้

แนะป้องกันตัว-อย่าประมาท เผยปัญหาลองโควิด ระหว่าง “โอมิครอน” กับ “เดลตา”

ทั้งนี้ หากสถานการณ์ระบาดของโควิดยังเป็นไปอย่างต่อเนื่องและกระจายไปทั่วอยู่แบบนี้ คนที่ติดเชื้อมาก่อนควรตระหนักถึงความสำคัญในการป้องกันตัวเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ อย่าเหลิง อย่าลุ่มหลงมัวเมากับข่าวลวงที่ว่า คนที่เคยติดเชื้อแล้วจะไม่ติดอีก และไม่ควรประมาทกับการใช้ชีวิต ยิ่งในปัจจุบันไวรัสโอมิครอนมีการกลายพันธุ์ไปหลากหลาย และหลบหลีกภูมิคุ้มกันได้มากขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการติดเชื้อซ้ำจึงเกิดขึ้นง่ายมาก แม้ก่อนหน้านี้จะมีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนติดโควิดสายพันธุ์โอมิครอนมีโอกาสเกิดปัญหา “ลองโควิด” น้อยกว่าสายพันธุ์เดลตาประมาณ 50-70% (หรือลดลงราว 2-3 เท่า) แต่อย่าลืมความจริงว่า จำนวนคนที่ติดเชื้อโอมิครอนนั้นมีเยอะกว่าเดลตาราว 3.5 เท่า ดังนั้นจำนวนจริงของปัญหาลองโควิดที่จะเกิดขึ้นจากโอมิครอนนั้นจึงมีโอกาสสูงกว่าเดลตา ยิ่งหากผนวกกับความรู้ที่เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า การติดเชื้อซ้ำ (Reinfection) ในโอมิครอนมีมากกว่าเดลตา ดังนั้นก็ยิ่งทำให้เกิดปัญหาได้มากขึ้นไปอีก

สรุปแล้ว เราไม่ควรจะติดโควิด เพราะอาจเกิดปัญหาลองโควิดได้ถึง 25% และยืดเยื้อไปได้นานถึง 6 เดือน ถ้าติดโควิดไปแล้วหนึ่งครั้ง ก็ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการติดครั้งที่สอง เพราะการติดครั้งที่สองขึ้นไปมีอัตราการเสียชีวิตและการเจ็บป่วยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งรบกวนอวัยวะต่างๆ มากขึ้นด้วย

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article