อีกหนึ่งความกังวล และความสับสน ไม่รู้ว่าอาการแบบไหนที่ควรไปตรวจโควิด ไม่ได้สัมผัส หรือใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด แต่เดินทางกลับมาจากจังหวัดพื้นที่สีแดง หรือได้ไปเจอคนใกล้ชิดคนผู้ป่วยโควิด แบบนี้ต้องไปตรวจไหม หรือแค่กักตัว 14 วันก็เพียงพอ แล้วถ้าไม่ได้ไปไหนเลยอยู่แต่บ้าน มีอาการปวดหัว ไอ มีน้ำมูก และรู้สึกมีไข้ ต้องไปตรวจ Covid-19 ไหมนั้น Beauty See First สรุปมาให้แล้ว ทั้งนี้ข้อมูลเป็นเพียงการสำรวจตัวเองเบื้องต้น แต่ละอาจมีทามไลน์ ตลอดจนภูมิคุ้มกันที่แตกต่างกันไป ฉะนั้นหมั่นสังเกตตัวเอง หากมีอาการผิดปกติให้โทรสอบถามแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือเข้าไปตรวจ เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
ไทม์ไลน์หนึ่งในสิ่งที่หลายคนตั้งตารออัพเดตกันทุกวัน ไม่รู้ว่าแจ็กพอตจะไปแตกตรงไหนบ้าง (เป็นแจ็กพอตที่ไม่อยากได้ด้วยนะ) แต่หลายคนยังคงกังวลว่าหากตามไทม์ไลน์มีสถานที่ที่เราเคยไปหรือใช้บริการร่วมกับผู้ติดเชื้อจะรู้ได้อย่างไรว่าเราเสี่ยงแค่ไหน ผู้สัมผัสเสี่ยงสูงคือกลุ่มที่คลุกคลีกับผู้ป่วยโดยตรง แน่นอนว่าหลังเปิดไทม์ไลน์มาแล้ว กลุ่มที่จะถือว่าเป็นสัมผัสเสี่ยงสูงเลยคือผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเดียวกัน รวมถึงผู้ที่คลุกคลีกับผู้ป่วยใกล้ชิดชัดเจน โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย กลุ่มนี้แม้ไม่มีอาการ ทางกรมควบคุมโรคก็ถือว่าต้องเก็บตัวอย่างตรวจหาเชื้อเช่นกัน ผู้ที่มีความเสี่ยงสูงต่อมา คือกลุ่มที่โดนสารคัดหลั่งจากผู้ป่วยโดยตรง อย่าง ผู้ที่ถูกผู้ป่วยไอจามใส่ มีการพูดคุยในระยะ 1 เมตรเกิน 5 นาที หรืออยู่ในสถานที่ปิดแออัดกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตรเกิน 15 นาที โดยไม่สวมหน้ากากอนามัย กลุ่มนี้ทางกรมควบคุมโรคก็ถือเป็นผู้เสี่ยงสูง ควรกักตัว 14 วัน และตรวจหาเชื้อ ยิ่งหากเมื่อรู้สึกมีอาการ แต่ในขณะเดียวกันหากสวมหน้ากากอนามัยตลอด โอกาสเสี่ยงก็ลดลงตามนั่นเอง ผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย ก็ควรกักตัว และตรวจเชื้อเมื่อมีอาการ ตามข้อมูลของทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเอกสารออนไลน์ทางกรมควบคุมโรค ได้แบ่งกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดไว้ตามข้อสรุปต่างๆ ดังนี้ ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่พักเดียวกัน เช่น หอพัก คอนโด เพราะมีโอกาสที่กลุ่มนี้อาจใช้ส่วนกลางร่วมกัน ผู้ร่วมงาน ร่วมโรงเรียน พนักงานบริการที่พบปะ ซึ่งกลุ่มนี้จะยิ่งเสี่ยงลดลงหากสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา และดูแลความสะอาดตามคำแนะนำกรมควบคุมโรค ผู้ท่องเที่ยวร่วมกลุ่ม โดยกลุ่มนี้หากมีอาการก็ควรตรวจหาเชื้อ เพราะมีโอกาสติดเชื้อเช่นกัน ใช้บริการรถสาธารณะเดียวกัน …
มีหลากหลายข้อมูลเช่นกันที่มีข่าวว่า มีอาการแบบนี้ แต่บางคนก็ไม่มี ซึ่งเกิดขึ้นได้ตามปัจจัยของแต่ละบุคคลเช่นกัน งั้นมาดูว่าอาการของคนเป็นโควิดส่วนใหญ่จะแสดงอาการอย่างไรกันบ้าง มีไข้ คือวัดไข้แล้วมีไข้สูงประมาณ 37.5 และมีไข้ติดต่อกันเกิน 48 ชั่วโมง ไอ จะเป็นไอแห้งๆ หรือบางคนมีน้ำมูกร่วมด้วย เหนื่อยหอบ เนื่องจากโควิดนั้นมีความเกี่ยวข้องกับปอด จึงแสดงอาการอ่อนเพลีย หายใจลำบากได้เช่นกัน หรือหลายคนอาจรู้สึกแค่เวียนหัว ปวดเมื่อยตามตัว ไม่ได้กลิ่น หนึ่งในอาการที่ต่างจากโรคอื่นๆ ค่อนข้างชัด และลิ้นไม่รับรสชาติ ซึ่งผู้ที่เคยเป็นให้ข้อมูลเพิ่มเติมไว้ว่าอาการเหล่านี้จะค่อยๆ เป็น เช่น รับรู้ได้ว่าได้กลิ่นลดลงเรื่อยๆ เป็นต้น หลังจากอาการดีขึ้น ก็จะเริ่มกลับมาเป็นปกติ เจ็บคอ เป็นอีกอาการที่สังเกตได้ค่อนข้างง่าย แต่อาจจะต้องพิจารณาอาการอื่นร่วม เพราะอาจเป็นไข้หวัดธรรมดา เช่น เรามีเสมหะไหม มีน้ำมูกลงคอ หรือไอรึเปล่า อาจเป็นสาเหตุการเจ็บคอได้เช่นกัน ท้องเสีย เป็นการแสดงอาการผ่านทางระบบทางเดินอาหาร หรือมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย แต่ก็อาจไม่เกิดกับทุกคน แต่หากมีอาการนี้ ต้องระวังอย่างใกล้ชิดและหาหมอด่วน ขอบคุณข้อมูลจาก CNN
เพราะเป็นอาการเกี่ยวกับระบบกายใจเหมือนกัน หลายคนที่เป็นภูมิแพ้บ่อยๆ จึงสับสน บางทีไอ จาม มีผื่นขึ้นมาก็คิดแล้วไปไหนมาบ้าง ติดยังนะ? แบบนี้โควิดหรือเปล่า? วันนี้แอดเลยชวนมาเช็คอาการเบื้องต้น ว่ามีไข้ ไม่มีไข้ ไอแห้ง ไอจาม แล้วตอนนี้หายใจหอบ หรือหายใจไม่ออกกันแน่ แล้วถ้ามีอาการแบบที่ว่า เป็นภูมิแพ้ หรือ โควิด แบบนี้เรียกว่าโควิดโควิด 19 ชื่อที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เกิดจากเชื้อโคโรนาไวรัส สายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ SAR-CoV-2 มีระยะฟักตัวประมาณ 14 วัน แต่มีช่วงเวลาระหว่าง 0-24 วัน ในการแสดงอาการป่วย อาการที่ชัดเจนที่สุด คือ มีไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียสอย่างต่อเนื่อง 3-4 วัน ไข้ไม่ลด มีอาการไอแห้ง เจ็บคอ แล้วหายใจหอบถี่ แต่จะไม่มีน้ำมูก น้ำตาไหลเหมือนคนเป็นภูมิแพ้ ส่วนอาการอื่นๆ จะมีปวดเมื่อย คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีผื่นขึ้น นิ้วมือ นิ้วเท้าเปลี่ยนสีก็พบได้ค่ะ แบบนี้เรียกว่าภูมิแพ้ภูมิแพ้อาการจะคล้ายหวัด …
หน้ากากผ้า
พอเข้าปี 2020 หลายคนถึงกับกุมขมับกันเลยทีเดียวว่า ปีนี้ช่างหนักหน่วงสำหรับคนทั่วโลกเหลือเกิน โดยเฉพาะเจ้าไวรัสโคโรน่า หรือ โควิด-19 ที่กำลังระบาด และถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถเปลี่ยนแปลงปัญหาโลก ณ ขณะนี้ได้ แต่เราสามารถสร้างภูมิคุ้มกัน และลดความเสี่ยงการติดเชื้อไวรัสนี้ได้ โดยเริ่มจากตัวเอง เราจึงสรุปตัวเลขสำคัญฉบับเลขห่างโรค มาสร้างภูมิฯ พร้อมหลีกไวรัสไปพร้อมๆ กันเถอะ ล้างมือ 20 วินาที เพื่อเป็นการล้างขจัดสิ่งสกปรกต่างๆ และลดจำนวนเชื้อโรคชั่วคราวบนมือ รวมถึงการป้องกันเชื้อโรคจากภายนอกเข้าสู่ตัวเรา การล้างมือควรจะใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลว หลังล้างเสร็จใช้ทิชชูที่เช็ดมือปิดก๊อก ซึ่งตามคำแนะนำของกรมอนามัย กล่าวว่าควรล้างมือตาม 7 ขั้นตอน คือ ใช้ฝ่ามือถูฝ่ามือ, ใช้ฝ่ามือถูหลังมือ, ประกบฝ่ามือถูซอกนิ้ว, ใช้หลังนิ้วถูฝ่ามือ, ใช้ฝ่ามือถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบ, ใช้ปลายนิ้วมืถูขวางฝ่ามือ และฝ่ามือถูรอบข้อมือ เว้นระยะระหว่างบุคคล 2 เมตร ซึ่งวิธีนี้ทางภาษาวิชาการจะเรียกว่า Social Distancing ซึ่งในหลายประเทศก็มีการแนะนำให้ปฏิบัติตาม เนื่องจากปกติเวลาคนเราพูดคุยกัน ละอองน้ำลายสามารถกระเด็นไปได้ไกลถึง 1-2 เมตร ซึ่งหากเราสูดลมหายใจหรือไปสัมผัสละอองที่อาจตกบนพื้นผิวแล้วมือมาสัมผัสตาและปาก ก็มีโอกาสติดเชื้อโรคได้ วิธีนี้จึงเหมือนเป็นการลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อ แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ แนะนำให้ใส้หน้ากากอนามัย หากต้องพูดคุยกับผู้อื่นในระยะใกล้ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ประมาณ …