Home How to หน้ากากแบบไหนใช้กันไวรัสโควิด 19 และฝุ่น PM 2.5 ได้บ้าง | Beauty See First

หน้ากากแบบไหนใช้กันไวรัสโควิด 19 และฝุ่น PM 2.5 ได้บ้าง | Beauty See First

0

ตอบข้อสงสัย หน้ากากแบบไหนใช้กันไวรัสโควิด 19 และฝุ่น PM 2.5 ได้บ้าง

ฝุ่น PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ Covid-19 จริงไหม?

ทุกวันนี้ออกจากบ้านนอกจากมือถือแล้ว สิ่งที่ลืมไม่ได้เด็ดขาดเลยก็คือหน้ากาก! เพราะสภาพแวดล้อมบ้านเรามันโหดร้ายขึ้นทุกวัน ไหนจะฝุ่น ไหนจะไวรัสโควิดที่กลับมาระบาด อย่าการ์ดตกกันนะทุกคน! แต่เชื่อว่าหลายคนน่าจะมีคำถามเกี่ยวกับหน้ากากสารพัดชนิดอยู่เหมือนกัน ว่าตกลงหน้ากากแบบไหนมันใช้กันอะไรได้บ้าง? วันนี้เรามาสรุปให้ดูแบบเข้าใจง่ายๆ

หน้ากากกันโควิดแต่ไม่กันใยพลาสติก - ThaiPublica

หน้ากากป้องกันโควิด 19

ไวรัสแห่งยุคที่สร้างผลกระทบไปทั่วโลก จริงๆ แล้วไม่ได้ป้องกันยากอย่างที่คิดนะคะ เพราะการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสจะผสมอยู่ในละอองสารคัดหลั่งจากการไอหรือจาม ซึ่งหน้ากากอนามัยทั้งชนิด Medical และ Non-Medical รวมถึงหน้ากากผ้าที่มีชั้นผ้า 3 ชั้นขึ้นไป สามารถกันได้สบายๆ แต่หน้ากากแบบฟองน้ำนั้นไม่สามารถป้องกันการซึมผ่านของละอองจากการไอจามได้ เอามาใส่ป้องกันไวรัสไม่ได้นะ ส่วนหน้ากากแบบชนิดมีวาล์ว ที่องค์กรหลายๆ ส่วนออกมาบอกว่าไม่แนะนำ ก็เป็นเพราะหน้ากากชนิดนี้ แม้จะสามารถป้องกันตัวผู้ใส่จากเชื้อไวรัสภายนอกได้ แต่กลับไม่สามารถป้องกันการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ใส่สู่ภายนอก สมมุติว่าผู้ใส่นั้นติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ แล้วไอหรือจามในที่สาธารณะ หน้ากากนี้ก็จะป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อไม่ได้ยังไงล่ะ!

ทำความรู้จัก 'หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5' - NSTDA

การป้องกันฝุ่น PM 2.5

น้องฝุ่นตัวร้ายที่มาๆ หายๆ อาจไม่ถูกพูดถึงบ่อยเท่าไวรัสโควิด แต่ก็เป็นภัยเงียบที่จะมองข้ามไม่ได้นะ! อ้างอิงจากงานวิจัยที่เผยแพร่ในช่วงปี 2562 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า หน้ากากที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด คือ หน้ากากชนิด N95 ที่สามารถป้องกันได้มากถึง 90.82% ในขณะที่หน้ากากอนามัยธรรมดาๆ จะมีประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ราวๆ 48.08% และหน้ากากผ้าป้องกันได้ 21.28% แต่เนื่องจากหน้ากาก N95 นั้นหายากและมีราคาค่อนข้างสูง จึงมีการแนะนำให้ใช้หน้ากากอนามัยร่วมกับหน้าเช็ดหน้า จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 49.60% และการใช้หน้ากากอนามัยร่วมกับกระดาษทิชชู่ 2 ชั้น จะเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันอยู่ที่ 90.80%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก WorkPoint Today , CDC , NIST และ WHO