ข่าวจับตามองสถานการณ์แพร่เชื้อโควิดระลอกใหม่ กำลังระบาดหนักในขณะนี้

จับตามองสถานการณ์แพร่เชื้อโควิดระลอกใหม่ กำลังระบาดหนักในขณะนี้

แม้ว่าโควิด-19 จะถูกประกาศให้เป็นโรคประจำถิ่นไปแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. และปรับให้เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ดูเหมือนสถานการณ์การระบาดกลับน่าเป็นห่วงขึ้นมาอีกครั้งนับตั้งแต่ปลายเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา ตอนนี้ ผู้เสียชีวิตเฉลี่ยรายวัน เพิ่มเป็น 15 คนแล้ว

ข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ระบุว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยยังเพิ่มสูง โดยผู้เสียชีวิตทุกรายยังอยู่ในกลุ่ม 608 และเกือบทั้งหมดไม่ได้รับวัคซีน ได้รับวัคซีนไม่ครบ หรือได้รับเข็มกระตุ้นนานเกินกว่า 3 เดือนแล้ว

อย่างไรก็ตาม นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า สถานการณ์ดูเหมือนจะเริ่มชะลอตัวลง และระบบสาธารณสุขยังรองรับได้ 

จับตาโควิดสายพันธุ์ใหม่จากอินเดีย

ท่ามกลางความกังวลของการระบาดในระลอกปัจจุบัน มีคำเตือนจากนายแพทย์จากโรงพยาบาลวิชัยยุทธถึงความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่จากอินเดียจะเข้ามาระบาดในไทย เช่นเดียวกันกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2563 ที่ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก รวมทั้งในไทยเมื่อกลางปี พ.ศ.2564

นพ. มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ประเทศไทยต้องจับตาเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ที่กำลังแพร่ระบาดในประเทศอินเดีย เพราะหลายครั้งที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดกลายพันธุ์ตัวใหม่ในประเทศอินเดีย หลังจากนั้นอีกไม่นานก็พบการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์นั้นในประเทศไทย

สำหรับเชื้อไวรัสตัวล่าสุดที่ต้องจับตา คือ ไวรัสโควิดสายพันธุ์ XBB ซึ่งเป็นลูกผสมของไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2.10.1 กับ BA.2.75 โดยเชื่อว่าอีกไม่นาน ก็จะแทนที่สายพันธุ์ BA.2.75 ในประเทศอินเดีย

“ประเทศไทยเตรียมตัวได้เลยว่า หลังการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2.75 อีกไม่นานก็จะมีสายพันธุ์ XBB แพร่ระบาดเหมือนประเทศอินเดีย” เพราะสายพันธุ์ใหม่นี้ติดต่อกันง่ายกว่าสายพันธุ์เดิม และหลบหลีกภูมิคุ้มกันไม่ว่าจากการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อธรรมชาติได้ดีกว่าสายพันธุ์เดิม

แนวโน้มผู้ติดเชื้อสูงขึ้นในช่วงปลายปีจนถึงต้นปี

ด้าน หมอยง ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงการแพร่ระบาดของ โควิด19″ ซึ่งมีแนวโน้มพบเพิ่มสูงขึ้นตามที่คาดการณ์ไว้ เมื่อเข้าสู่โรคตามฤดูกาล การระบาดของโรคสำหรับประเทศไทยจะพบมากในฤดูฝน และช่วงปลายปีจนถึงต้นปี อีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับการระบาดในสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009 อย่างไรก็ตามความรุนแรงของโรคจะลดลง ทั้งนี้เพราะประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานเกิดขึ้น จากการฉีดวัคซีน และการติดเชื้อ

ขณะเดียวกัน มียาที่ใช้รักษาที่ดีขึ้นกว่าในช่วงแรกๆ มาก คือ monulpiravia paxlovid และ remdicevir เช่นเดียวกับสมัยไข้หวัดใหญ่ 2009 เรามี oseltamivir และวัคซีนเข้ามาปลายปี ในปัจจุบันยาสำหรับ โควิด19″ ก็หาได้ง่ายขึ้น กว่าเมื่อต้นปีมาก 

จำนวนการฉีดวัคซีนขณะนี้ น้อยกว่าธรรมชาติที่ฉีดวัคซีนให้หรือการติดเชื้อนั่นเอง ซึ่งเมื่อรวมกันก็จะทำให้ภูมิในประชากรเพิ่มมากขึ้น

โดยหลักการแล้วเราอยากให้ประชากรไทยได้รับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้ออะไรก็ได้ไม่แตกต่างกัน และใครที่ได้มากกว่า 3 เข็มแล้ว ถ้าเข็มสุดท้ายได้รับมาแล้วนานเกินกว่า 6 เดือน ระดับภูมิต้านทานที่เหลืออยู่ไม่เพียงพอ ก็ควรจะได้รับการกระตุ้น อีกครั้งหนึ่ง

ขณะนี้มีวัคซีนไม่ได้ขาดแคลน จึงอยากเชิญชวนให้กลุ่มเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มที่เมื่อเป็นโรคแล้วจะรุนแรง ควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นได้แล้ว ถ้าฉีดเข็มสุดท้ายมาเป็นเวลานานแล้ว 4 ถึง 6 เดือนขึ้นไป ก็ควรได้รับการกระตุ้น เพื่อช่วยความจำของร่างกาย เพื่อช่วยลดความรุนแรงของโรคไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ไหน

5 วิธีง่ายๆเพื่อป้องกันโควิดระลอกใหม่ เมื่ออยู่ที่ทำงาน

ด้วยสถานการณ์โรคโควิด-19 (COVID -19) กลับมาระบาดอีกครั้งซึ่งมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตเป็นจำนวนมาก วิธีง่ายๆเพื่อป้องกันโควิด-19

1.ทำความสะอาดโต๊ะทำงาน เช็ดทำความสะอาดบริเวณพื้นผิวโต๊ะทำงาน แป้นพิมพ์ เมาส์ คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ และวัตถุสิ่งของอื่น ๆ ที่ต้องสัมผัส และต้องใช้งานอยู่เป็นประจำ

2.ล้างมือบ่อย ๆ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนการล้างมือบ่อย ๆก็ถือว่าเป็นการป้องกันไวรัสที่ดีที่สุดวิธีหนึ่ง เราควรล้างมือหลังจากรับประทานอาหาร จับที่จับประตู หรือราวบันได ควรล้างมือให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

3.พกเจลแอลกอฮอล์ติวตัวตลอดเวลา ในบางครั้งที่เรามีงานสำคัญ เช่น การประชุม การออกไปล้างมือด้วยสบู่ในห้องน้ำอาจจะไม่สะดวกนัก จึงอาจจะใช้เป็นเจลแอลกอฮอล์แทนการล้างมือด้วยสบู่

4.งดการทักทายด้วยวิธีจับมือ ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางกายภาพที่ไม่จำเป็น

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้อหาใหม่ล่าสุด

More article