Home ข่าว ความน่ากลัวของโควิคระลอกใหม่

ความน่ากลัวของโควิคระลอกใหม่

0
ความน่ากลัวของโควิคระลอกใหม่

แพทย์ชื่อดังหลายคนได้ให้ความเห็นต่อสถานการณ์การระบาดในปัจจุบันว่า ยังคงน่าจับตาเนื่องจากยังมีความไม่แน่นอน ขณะเดียวกันยังใกล้กับช่วงเทศกาลที่มีคนเดินทางและจัดงานรื่นเริง ซึ่งอาจจะเป็นเหตุให้การระบาดเพิ่มสูงขึ้นอีก

รศ.นพ. ธีระ วรธนารัตน์ จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยโพสต์เฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 โดยประเมินว่า ตอนนี้ สถานการณ์ถือว่า “พีคสูงกว่าระลอกสามในปีที่แล้วของอัลฟาและเดลตา และ พีคสูสีกับระลอกช่วงครึ่งปีแรก ดังนั้น จึงย้ำเสมอว่าไม่ใช่เวฟเล็ก รอบตัวมีการติดกันรัว”

โควิคสายพันธ์ใหม่จากอินเดีย

ท่ามกลางความกังวลของการระบาดในระลอกปัจจุบัน มีคำเตือนจากนายแพทย์จากโรงพยาบาลวิชัยยุทธถึงความเป็นไปได้ที่เชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่จากอินเดียจะเข้ามาระบาดในไทย เช่นเดียวกันกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2563 ที่ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งพบครั้งแรกในประเทศอินเดีย และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและเกิดการระบาดใหญ่ทั่วโลก รวมทั้งในไทยเมื่อกลางปี พ.ศ.2564

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ประเทศอินเดียพบไวรัสโควิดโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.2.75 ครั้งแรก เชื้อสายพันธุ์นี้แพร่เร็วกว่า เข้ามาแทนที่สายพันธุ์ย่อย BA.5 แพร่ระบาดในประเทศอินเดีย และกระจายไปหลายประเทศ ขณะนี้ประเทศไทยกำลังมีการแพร่ระบาดของโรคโควิดระลอกใหม่ เกิดจากไวรัสสายพันธุ์ BA.2.75 ประเทศอินเดียเริ่มเห็นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์ XBB ซึ่งเป็นลูกผสมของไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2.10.1 กับ BA.2.75 เชื่อว่าอีกไม่นานก็จะแทนที่สายพันธุ์ BA.2.75 ในประเทศอินเดีย

การระบาดโควิคในไทยล่าสุด

12 ธ.ค.2565 กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายสัปดาห์ที่ 48 ช่วงวันที่ 4 – 10 ธ.ค.2565 ผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 3,961 คน เฉลี่ยวันละ 566 คน เสียชีวิต 107 คน เฉลี่ยวันละ 15 คน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 649 คน ใส่เครื่องช่วยหายใจ 385 คน

12 ธ.ค.2565) กรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โควิด-19 รายสัปดาห์ที่ 48 ช่วงวันที่ 4 – 10 ธ.ค.2565 ผู้ติดเชื้อรายใหม่สะสม 3,961 คน เฉลี่ยวันละ 566 คน เสียชีวิต 107 คน เฉลี่ยวันละ 15 คน มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 649 คน ใส่เครื่องช่วยหายใจ 385 คน

การเตรียมการรับมือโควิครุ่นใหม่

การพัฒนาระบบเครื่องตรวจคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 โดยใช้ลมหายใจ ถือว่าเป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยฯ ที่ไม่ต้องเจ็บตัว ไม่ต้องแยงจมูก ไม่ต้องเจาะเลือด และไม่ต้องใช้น้ำลาย ซึ่งวิธีดังกล่าวเป็นวิธีที่มีความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (specificity) สูง สามารถรู้ผลตรวจได้ภายใน 5 นาที ทำให้สามารถทำการคัดแยกผู้มีความเสี่ยงติดเชื้อให้ออกมาได้อย่างรวดเร็ว สามารถเข้าสู่กระบวนการรักษาได้ทันท่วงที และลดโอกาสในการระบาดของเชื้อโควิด-19 ในวงกว้างได้

การเกิดนวัตกรรมนี้ส่งผลให้เกิดการสร้างความก้าวหน้าของการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทยเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการพัฒนาของทีมวิจัยไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ ทางทีมวิจัยได้เดินหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดการสร้างเทคโนโลยีให้ก้าวล้ำไปอีกขั้นที่สำคัญ จนทำให้นวัตกรรมดังกล่าวสามารถประมาณการ “ค่า CT (Cycle Threshold)” ที่บ่งบอกถึงปริมาณเชื้อไวรัสในผู้ป่วยติดเชื้อโควิดที่เทียบเคียงการตรวจแบบ RT-PCR ซึ่ง มีความไว (Sensitivity) และความจำเพาะ (Specificity) ที่สูง ด้วยการไม่หยุดนิ่งของทีมวิจัยจึงยังคงคิดและพัฒนาเพื่อให้เกิดการต่อยอดของนวัตกรรมการตรวจคัดกรองโรคโดยใช้ลมหายใจ เพื่อประโยชน์สูงสุดสำหรับวงการเทคโนโลยีด้านเครื่องมือแพทย์ของประเทศไทยต่อไป

ความน่ากลัวของโควิค โควิครุ่นใหม่ต้องฉีดวัคซีนอย่างไร

แม้ว่าสัญญาณการระบาดในปัจจุบันจะเริ่มชะลอตัว แต่การฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันยังมีความจำเป็น เนื่องจากจะสามารถช่วยป้องกันอาการป่วยหนักและลดโอกาสการสูญเสีย จากข้อมูลของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ประชาชนควรได้รับวัคซีนอย่างน้อย 4 เข็ม ส่วนเข็มถัดไปควรฉีดห่างกันราว 4 เดือน และส่วนวัคซีนรุ่นใหม่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนา

ด้าน ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเมื่อวันที่ 9 ธ.ค. เกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของวัคซีนรุ่นใหม่โดยอ้างประกาศของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคของสหรัฐฯ หรือซีดีซี (CDC) เกี่ยวกับประสิทธิภาพในการใช้จริงครั้งแรก (real world effectiveness data) ของวัคซีนรุ่นใหม่ bivalent mRNA (14 ก.ย.- 11 พ.ย.) และรายงานจากวารสาร Nature Medicine เมื่อ 6 ธ.ค. และวารสาร Lancet Infectious Disease และ Lancet Microbe ประจำเดือน ธ.ค. ว่า ภูมิคุ้มกันหรือแอนติบอดีในเลือดไม่มีผลต่อเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์ BA.2.75.2., BQ.1., XBB.1 และสายย่อยอื่น ๆ ซึ่งหมายความว่าป้องกันการติดเชื้อไม่ได้

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here