Home How to โปรตีนพืชกับโปรตีนสัตว์เหมาะกับใคร ต่างกันยังไง กินอะไรดี

โปรตีนพืชกับโปรตีนสัตว์เหมาะกับใคร ต่างกันยังไง กินอะไรดี

0
40-8511434

ช่วงนี้กระแสโปรตีนทดแทนจากพืชกำลังมาแรง ทุกคนสงสัยกันไหมว่าเจ้าโปรตีนพืชจะสามารถมาแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ได้จริงๆ ไหม? ในวันนี้เราเลยจะมาแนะนำคร่าวๆ ว่าแหล่งโปรตีนทั้ง 2 แบบนี้เหมาะกับใคร แต่จริงๆ แล้วเราก็ไม่จะเป็นที่จะต้องเลือกทานแค่โปรตีนจากพืชหรือสัตว์อย่างใดอย่างหนึ่งหรอกนะคะ แค่ปรับสัดส่วนให้สมดุลและตรงกับความต้องการของร่างกายเราก็พอ

โปรตีนจากเนื้อสัตว์ นับเป็นแหล่งโปรตีนที่สมบูรณ์ เนื่องจากมีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วน ในขณะที่โปรตีนจาก พืชนับเป็นแหล่งโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากขาดกรดอะมิโนจำเป็นบางชนิดที่ร่างกายต้องการ นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุ และวิตามินบางชนิดที่พบได้น้อยในโปรตีนจากพืช เช่น วิตามินดี วิตามินบี12 ธาตุเหล็ก สังกะสี และ กรดไขมันโอเมก้า 3 ด้วยความสมบูรณ์นี้เอง ทำให้โปรตีนจากพืชเหมาะสำหรับคนที่ต้องใช้กล้ามเนื้อมากๆ อย่างนักกีฬาหรือคนที่ชอบออกกำลังกาย เพราะต้องการการเสริมสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อมากกว่าคนทั่วๆ ไป

แต่ข้อควรระวังสำหรับสายเนื้อทั้งหลายก็คือ โปรตีนที่ได้จากสัตว์มักจะมีไขมันสูงถ้าทานมากเกินไปอาจทำให้อ้วนได้ อีกทั้งอาหารจำพวกเนื้อแดงที่ผ่านกระบวนการแปรรูปยังเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคมะเร็งลำไส้ และโรคหัวใจได้

TIPS :

ใน 1 วัน คนทั่วไปต้องการโปรตีนประมาณ 0.8 – 1 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้ออาจต้องการโปรตีน 2 – 3 กรัม / น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (มากกว่าคนทั่วไป 2-3 เท่า) ยกตัวอย่างเช่น – คนทั่วไป น้ำหนัก 55 กิโลกรัม ต้องการโปรตีนวันละ 55 กรัม

– นักกีฬา น้ำหนัก 55 กิโลกรัม ต้องการโปรตีนวันละ 110 กรัม

โปรตีนจากพืชสำหรับคนคุมน้ำหนัก

โปรตีนจากพืชมีข้อดีที่โดดเด่น คือการมีไฟเบอร์ ที่ส่งผลดีต่อระบบขับถ่าย อีกทั้งยังมีคอเลสเตอรอลและไขมันต่ำ จึงเหมาะสำหรับคนที่กำลังควบคุมน้ำหนัก และคนที่ต้องควบคุมคอเลสเตอรอล อย่างผู้มีภาวะความดันโลหิตสูงหรือผู่ป่วยเบาหวาน ยังส่งผลดีต่อเนื่องในการป้องกันโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจด้วย

TIPS :

โปรตีนจากพืชบางชนิดก็มีกรดอะมิโนครบถ้วนเหมือนกัน เพียงแต่ต้องบริโภคในปริมาณที่มากกว่าการทานเนื้อสัตว์ เช่น ควินัว ข้าวบัควีท ถั่วเหลือง และ เมล็ดเจีย หรือเราสามารถเลือกรับประทานโปรตีนจากพืชแบบผสมผสาน เพื่อให้ได้กรดอะมิโนและสารอาหารครบถ้วนมากขึ้นได้ เช่น การทานข้าวกล้อง + ถั่ว เป็นต้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

https://bit.ly/2JHOERS

https://bit.ly/2I9fX6U

https://bit.ly/3626KoY

https://bit.ly/36bJWTN